เรือนพิพิธภัณฑ์
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊
ต้นท้าวยายม่อม
ต้นท้าวยายม่อม จัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ส่วนที่อยู่เหนือดินสูงได้ถึง 1.5 เมตร มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร (ใช้ทำแป้ง)
ลักษณะหัว เป็นรูปกลม กลมแบน หรือรูปรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-4 นิ้ว ผิวด้านนอกบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อในหัวเป็นสีขาวใส
ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ดหรือการแยกหัว
เขตการกระจายพันธุ์ แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก ออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ และพบขึ้นหนาแน่นในบางพื้นที่ ยกเว้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะขึ้นใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งระดับต่ำ ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาด (MedThai, 2560)
สรรพคุณ
หัวในดิน นำมาใช้ทำเป็นแป้งท้าวยายม่อม รักษาโรคเบื่ออาหารได้ และเพิ่มพละกำลัง การเต้นของหัวใจ
รากสดที่มีรสขม เป็นยาแก้ไข้ได้
ต้นและราก ขับเสมหะได้
รากและใบ เป็นยาแก้หืดได้
รากสด เป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
การแปรรูป
แป้งท้าวยายม่อม สามารถนำไปแปรรูปโดยการ
ประกอบอาหารและทำขนม เช่น ออส่วน ขนมเทียนขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมนำดอกไม้ ขนมกล้วย เม็ดบุกใส่ชานมไข่มุก เป็นต้น
ทำเป็นผลิตภัณฑ์ประทินผิว เช่น สครับผิว บลัชออน
ก้านใบ ก้านดอก สามารถแปรรูปเป็น
เครื่องจักสาน เช่น กระเป๋า หมวก แผ่นรองแก้วน้ำ เป็นต้น
ส่วนอื่น ๆ ของต้นสามารถนำมาประกอบอาหารได้ตามความต้องการของผู้บริโภค
ข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานโดยไม่ผ่านการแปรรูป เพราะจะทำให้เมา
สัมผัสโดนร่างกายควรรีบล้างทำความสะอาด เพราะอาจทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองต่อผิวหนังได้ และยางจะติดมือล้างยาก
แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล
บทความวิจัย "การสำรวจองค์ความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี" (2565) โดย ผศ.ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ดร.ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล (สุขาภิรมย์) และดร.อมรฉัฐ เสริมชีพ
ต้นท้าวยายม่อม
ต้นท้าวยายม่อม จัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ส่วนที่อยู่เหนือดินสูงได้ถึง 1.5 เมตร มีหัวใต้ดินสะสมอาหาร (ใช้ทำแป้ง)
ลักษณะหัว เป็นรูปกลม กลมแบน หรือรูปรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-4 นิ้ว ผิวด้านนอกบางเป็นสีน้ำตาล เนื้อในหัวเป็นสีขาวใส
ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ดหรือการแยกหัว
เขตการกระจายพันธุ์ แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก ออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ และพบขึ้นหนาแน่นในบางพื้นที่ ยกเว้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะขึ้นใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งระดับต่ำ ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาด (MedThai, 2560)
สรรพคุณ
หัวในดิน นำมาใช้ทำเป็นแป้งท้าวยายม่อม รักษาโรคเบื่ออาหารได้ และเพิ่มพละกำลัง การเต้นของหัวใจ
รากสดที่มีรสขม เป็นยาแก้ไข้ได้
ต้นและราก ขับเสมหะได้
รากและใบ เป็นยาแก้หืดได้
รากสด เป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
การแปรรูป
แป้งท้าวยายม่อม สามารถนำไปแปรรูปโดยการ
ประกอบอาหารและทำขนม เช่น ออส่วน ขนมเทียนขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมนำดอกไม้ ขนมกล้วย เม็ดบุกใส่ชานมไข่มุก เป็นต้น
ทำเป็นผลิตภัณฑ์ประทินผิว เช่น สครับผิว บลัชออน
ก้านใบ ก้านดอก สามารถแปรรูปเป็น
เครื่องจักสาน เช่น กระเป๋า หมวก แผ่นรองแก้วน้ำ เป็นต้น
ส่วนอื่น ๆ ของต้นสามารถนำมาประกอบอาหารได้ตามความต้องการของผู้บริโภค
ข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานโดยไม่ผ่านการแปรรูป เพราะจะทำให้เมา
สัมผัสโดนร่างกายควรรีบล้างทำความสะอาด เพราะอาจทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองต่อผิวหนังได้ และยางจะติดมือล้างยาก
เรือนพิพิธภัณฑ์
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊