เกี่ยวกับเรา
ความเป็นมาของชุมชน อัตลักษณ์ในปัจจุบัน และสืบสานวัฒนธรรมไปยังลูกหลาน
เกี่ยวกับเรา
ความเป็นมาของชุมชน อัตลักษณ์ในปัจจุบัน และสืบสานวัฒนธรรมไปยังลูกหลาน
เรือนพิพิธภัณฑ์
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊
ผ้าทอมืออ่างศิลาเชื่อว่าเป็นเคยผ้าทรงของพระมหากษัตริย์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ต่อมา กระบวนการผลิตและวิถีชีวิตของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป เกิดข้อจำกัดทั้งสภาพปัญหาการขาดแคลนในด้านเครื่องมือ วัตถุดิบ ช่างฝีมือในการทอผ้า การสืบทอด ทำให้ภายหลังการจำหน่ายผ้าทอมืออ่างศิลาลดลง และชาวบ้านนิยมใช้เครื่องจักรทอผ้าแทน
จนกระทั่ง ผ้าทออ่างศิลา-บ้านปึก ชุมชนบ้านมาบหม้อได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงรับสั่งกับกลุ่มผู้ทอผ้าอ่างศิลา-บ้านปึกให้ทำการอนุรักษ์ฟื้นฟูการทอผ้าแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการสืบทอดให้ลูกหลาน ได้เห็นถึงคุณค่าและการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ (ศรัญญา ประสพชิงชนะ และคณะ, 2562) เนื่องจากเหลือผู้สืบทอดสำคัญในการทอผ้าแบบโบราณเพียง 2 ท่านคือคุณยายหง่วน และคุณป้าไอ๊ (นางสาย เสริมศรี)
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 คุณป้าไอ๊ เป็นตัวแทนของชุมชนบ้านมาบหม้อ จังหวัดชลบุรีในโครงการถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทยเทิดไท้องค์ราชินี ทอลายพิกุลครึ่งซีก สีฟ้าสลับขาวเหลือง และได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสินค้า OTOP ระดับ 3 ดาว ของตำบล
คุณป้าไอ๊ได้เสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ. 2553 จึงเหลือผู้สืบทอดคนสุดท้ายของบ้านมาบหม้อ คือ คุณยายหง่วน และเมื่อวันที 19 มีนาคม 2556 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงโปรดฯ ให้คุณยายหง่วนเข้าเฝ้าฯ เพื่อให้ท่านประทานสัมภาษณ์ และทอดพระเนตร ผ้าทอแบบดั้งเดิมของอ่างศิลา-บ้านมาบหม้อ
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จมาวางศิลาฤกษ์อาคารไวทยนิเวศน์ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา คุณยายหง่วน และคณะได้เข้าเฝ้าอีกครั้ง เพื่อนำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผ้าทอไปแสดง ในครั้งนี้คุณยายหง่วนได้ถวายผ้าทอมือตาสมุกสีม่วงแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ ฯ ด้วย
จากนั้นคุณยายหง่วนได้เสียชีวิตลง เมื่อ 6 มิถุนายน 2559 (บุญเชิด หนูอิ่ม, 2562)
ผ้าทอมืออ่างศิลาเชื่อว่าเป็นเคยผ้าทรงของพระมหากษัตริย์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ต่อมา กระบวนการผลิตและวิถีชีวิตของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป เกิดข้อจำกัดทั้งสภาพปัญหาการขาดแคลนในด้านเครื่องมือ วัตถุดิบ ช่างฝีมือในการทอผ้า การสืบทอด ทำให้ภายหลังการจำหน่ายผ้าทอมืออ่างศิลาลดลง และชาวบ้านนิยมใช้เครื่องจักรทอผ้าแทน
จนกระทั่ง ผ้าทออ่างศิลา-บ้านปึก ชุมชนบ้านมาบหม้อได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงรับสั่งกับกลุ่มผู้ทอผ้าอ่างศิลา-บ้านปึกให้ทำการอนุรักษ์ฟื้นฟูการทอผ้าแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการสืบทอดให้ลูกหลาน ได้เห็นถึงคุณค่าและการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ (ศรัญญา ประสพชิงชนะ และคณะ, 2562) เนื่องจากเหลือผู้สืบทอดสำคัญในการทอผ้าแบบโบราณเพียง 2 ท่านคือคุณยายหง่วน และคุณป้าไอ๊ (นางสาย เสริมศรี)
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2546 คุณป้าไอ๊ เป็นตัวแทนของชุมชนบ้านมาบหม้อ จังหวัดชลบุรีในโครงการถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทยเทิดไท้องค์ราชินี ทอลายพิกุลครึ่งซีก สีฟ้าสลับขาวเหลือง และได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสินค้า OTOP ระดับ 3 ดาว ของตำบล
คุณป้าไอ๊ได้เสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ. 2553 จึงเหลือผู้สืบทอดคนสุดท้ายของบ้านมาบหม้อ คือ คุณยายหง่วน และเมื่อวันที 19 มีนาคม 2556 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงโปรดฯ ให้คุณยายหง่วนเข้าเฝ้าฯ เพื่อให้ท่านประทานสัมภาษณ์ และทอดพระเนตร ผ้าทอแบบดั้งเดิมของอ่างศิลา-บ้านมาบหม้อ
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จมาวางศิลาฤกษ์อาคารไวทยนิเวศน์ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา คุณยายหง่วน และคณะได้เข้าเฝ้าอีกครั้ง เพื่อนำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผ้าทอไปแสดง ในครั้งนี้คุณยายหง่วนได้ถวายผ้าทอมือตาสมุกสีม่วงแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ ฯ ด้วย
จากนั้นคุณยายหง่วนได้เสียชีวิตลง เมื่อ 6 มิถุนายน 2559 (บุญเชิด หนูอิ่ม, 2562)
เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊
ความสำคัญของผ้าทอมือคุณยายหง่วน บ้านมาบหม้อ นำไปสู่แรงบันดาลใจให้ คุณอุทัย เสริมศรี ลูกชายของป้าไอ๊จัดตั้งเรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊ ขึ้น โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านมาบหม้อในอดีต อาทิ อุปกรณ์การทอผ้า อุปกรณ์การทำแป้งท้าวยายม่อม เช่น หนังปลากระเบนที่ใช้สำหรับการขูดหัวท้าวยายม่อมเพื่อนำไปทำเป็นแป้ง ฯลฯ และเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่คนทั่วไป สถาบันต่าง ๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึกในอดีต
เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊
ความสำคัญของผ้าทอมือคุณยายหง่วน บ้านมาบหม้อ นำไปสู่แรงบันดาลใจให้ คุณอุทัย เสริมศรี ลูกชายของป้าไอ๊จัดตั้งเรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊ ขึ้น โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านมาบหม้อในอดีต อาทิ อุปกรณ์การทอผ้า อุปกรณ์การทำแป้งท้าวยายม่อม เช่น หนังปลากระเบนที่ใช้สำหรับการขูดหัวท้าวยายม่อมเพื่อนำไปทำเป็นแป้ง ฯลฯ และเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่คนทั่วไป สถาบันต่าง ๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยว เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึกในอดีต
พิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
พิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
ชุมชนบ้านมาบหม้อและมหาวิทยาลัยบูรพาต่อยอดการเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ (โดยเฉพาะในระหว่างและหลัง COVID-19) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชนประชาสัมพันธ์ให้ภูมิปัญญาชุมชนบ้านมาบหม้อเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนทางอ้อมด้วย
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสู่พิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านยายไอ๊ บ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผศ.ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ดร.ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล (สุขาภิรมย์) และดร.อมรฉัฐ เสริมชีพ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชุมชนบ้านมาบหม้อและมหาวิทยาลัยบูรพาต่อยอดการเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ (โดยเฉพาะในระหว่างและหลัง COVID-19) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชนประชาสัมพันธ์ให้ภูมิปัญญาชุมชนบ้านมาบหม้อเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนทางอ้อมด้วย
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านสู่พิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านยายไอ๊ บ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผศ.ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ดร.ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล (สุขาภิรมย์) และดร.อมรฉัฐ เสริมชีพ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล
บทความวิจัย "การสำรวจองค์ความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี" (2565) โดย ผศ.ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ดร.ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล (สุขาภิรมย์) และดร.อมรฉัฐ เสริมชีพ
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ คุณยายหง่วน (บ้านมาบหม้อ) อย่างมีส่วนร่วม (2562) โดยผศ.บุญเชิด หนูอิ่ม
บทความวิจัย "การสำรวจองค์ความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี" (2565) โดย ผศ.ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ดร.ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล (สุขาภิรมย์) และดร.อมรฉัฐ เสริมชีพ
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ คุณยายหง่วน (บ้านมาบหม้อ) อย่างมีส่วนร่วม (2562) โดยผศ.บุญเชิด หนูอิ่ม
เรือนพิพิธภัณฑ์
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊