ผ้าทออ่างศิลา

เรียนรู้ภูมิปัญญาการทอผ้าอ่างศิลา-บ้านปึกอันเป็นเอกลักษณ์ของอ่างศิลา ทั้งความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กรรมวิธีการทอ ลวดลาย และผลิตภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ จากผ้าทอมือ

เรือนพิพิธภัณฑ์
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊

ความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์

ผ้าทออ่างศิลากล่าวได้ว่าเป็นผ้าทรงของพระมหากษัตริย์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมีส่วนอย่างยิ่งในการพัฒนาผ้าทออ่างศิลา (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542)

ต่อมาด้วยกระบวนการผลิตและวิถีชีวิตของชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อคุณค่าภูมิปัญญาของผ้าทออ่างศิลา-บ้านปึก ที่มีข้อจำกัดทั้งสภาพปัญหาการขาดแคลนในด้านเครื่องมือ วัตถุดิบ ช่างฝีมือในการทอผ้า การสืบทอด ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ล้วนส่งผลต่อต่อการผลิตและคิดค้น พัฒนารูปแบบลวดลายของผ้าทอ

ผ้าทออ่างศิลา-บ้านปึก ชุมชนบ้านมาบหม้อได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงรับสั่งกับกลุ่มผู้ทอผ้าอ่างศิลา-บ้านปึกให้ทำการอนุรักษ์ฟื้นฟูการทอผ้าแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการสืบทอดให้ลูกหลาน ได้เห็นถึงคุณค่าและการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ (ศรัญญา ประสพชิงชนะ และคณะ, 2562)

ลักษณะพิเศษ

ลักษณะพิเศษของผ้าทออ่างศิลา คือ กรรมวิธีการนำข้าวสุกมาขยำในขั้นตอนการเตรียมด้าย แล้วใช้กาบมะพร้าวแปลงเส้นด้ายให้หมดขน ทำให้เมื่อนำด้ายไปทอผ้าจึงได้เนื้อผ้าที่ออกมา แน่น เนียน เรียบ ไม่มีขน ใส่สบาย รีดแล้วสวย เหนียว และทนทาน (บุญเชิด หนูอิ่ม, 2562) โดยลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอมือคุณยายหง่วนมีทั้งหมด 12 ลายด้วยกัน

ลายผ้าทออ่างศิลา

ลายกระทง

ลายตาตะแกรง

ลายตาสมุก

ลายตาหมากรุก

ลายทางรอบตัว

ลายทางลง

ลายนกกระทา

ลายผ้าเชิง

ลายพิกุลเต็มดอก

ลายสก๊อต

ลายไส้ปลาไหล

ลายหางกระรอก


ผลิตภัณฑ์โดยวิสาหกิจชุมชน

ปัจจุบันผ้าทอบ้านมาบหม้อได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือคุณยายหง่วน บ้านมาบหม้อ” โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมขนได้นำผ้าทอมือคุณยายหง่วน บ้านมาบหม้อมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เช่น กระเป๋า รองเท้า ของที่ระลึกต่าง ๆ ฯลฯ

แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล

บทความวิจัย "การสำรวจองค์ความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี" (2565) โดย ผศ.ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ดร.ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล (สุขาภิรมย์) และดร.อมรฉัฐ เสริมชีพ

© 2566 เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊

ความสำคัญ
เชิงประวัติศาสตร์

ผ้าทออ่างศิลากล่าวได้ว่าเป็นผ้าทรงของพระมหากษัตริย์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยรัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมีส่วนอย่างยิ่งในการพัฒนาผ้าทออ่างศิลา (คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542)

ต่อมาด้วยกระบวนการผลิตและวิถีชีวิตของชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อคุณค่าภูมิปัญญาของผ้าทออ่างศิลา-บ้านปึก ที่มีข้อจำกัดทั้งสภาพปัญหาการขาดแคลนในด้านเครื่องมือ วัตถุดิบ ช่างฝีมือในการทอผ้า การสืบทอด ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ล้วนส่งผลต่อต่อการผลิตและคิดค้น พัฒนารูปแบบลวดลายของผ้าทอ

ผ้าทออ่างศิลา-บ้านปึก ชุมชนบ้านมาบหม้อได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงรับสั่งกับกลุ่มผู้ทอผ้าอ่างศิลา-บ้านปึกให้ทำการอนุรักษ์ฟื้นฟูการทอผ้าแบบดั้งเดิม เพื่อเป็นการสืบทอดให้ลูกหลาน ได้เห็นถึงคุณค่าและการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ (ศรัญญา ประสพชิงชนะ และคณะ, 2562)

ลักษณะพิเศษ

ลักษณะพิเศษของผ้าทออ่างศิลา คือ กรรมวิธีการนำข้าวสุกมาขยำในขั้นตอนการเตรียมด้าย แล้วใช้กาบมะพร้าวแปลงเส้นด้ายให้หมดขน ทำให้เมื่อนำด้ายไปทอผ้าจึงได้เนื้อผ้าที่ออกมา แน่น เนียน เรียบ ไม่มีขน ใส่สบาย รีดแล้วสวย เหนียว และทนทาน (บุญเชิด หนูอิ่ม, 2562) โดยลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอมือคุณยายหง่วนมีทั้งหมด 12 ลายด้วยกัน


ลายกระทง

ลายตาตะแกรง

ลายตาหมากรุก

ลายทางรอบตัว

ลายทางลง

ลายนกกระทา

ลายผ้าเชิง

ลายพิกุลเต็มดอก

ลายสก๊อต

ลายไส้ปลาไหล

ลายหางกระรอก

ลายตาสมุก

ลายผ้าทออ่างศิลา

ผลิตภัณฑ์โดยวิสาหกิจชุมชน

ปัจจุบันผ้าทอบ้านมาบหม้อได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือคุณยายหง่วน บ้านมาบหม้อ” โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมขนได้นำผ้าทอมือคุณยายหง่วน บ้านมาบหม้อมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย เช่น กระเป๋า รองเท้า ของที่ระลึกต่าง ๆ ฯลฯ

© 2566 เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊

เรือนพิพิธภัณฑ์
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊