ทรัพยากรวัฒนธรรม
ที่จับต้องไม่ได้

ประเพณีและการละเล่นของชุมชนบ้านมาบหม้อ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและความเชื่อที่เกิดจากการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

ทรัพยากรวัฒนธรรม
ที่จับต้องไม่ได้

ประเพณีและการละเล่นของชุมชนบ้านมาบหม้อ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและความเชื่อที่เกิดจากการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

เรือนพิพิธภัณฑ์
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊

ประเพณี 12 เดือน

ประเพณี 12 เดือนของบ้านมาบหม้อส่วนใหญ่คล้ายกับในพื้นที่อื่น ๆ ในภาคตะวันออก เช่น
มกราคม งานทำบุญกลางบ้าน งานทำบุญในวันขึ้นปีใหม่
เมษายน วันสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำสังคายนาอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ
ตุลาคม การตักบาตรเทโว โดยเอกลักษณ์ คือ การทำข้าวต้มหางที่ใช้ในพิธีตักบาตรเทโว หรือการทำบุญหลังวันออกพรรษาโดยชาวบ้านร่วมกันทำข้าวต้มหางที่มีลักษณะเป็นข้าวต้มมัดเล็ก ๆ และมีการทำหางให้ยาวขึ้นเพื่อความสะดวกในการใส่บาตรที่วัดแทนข้าวสารอาหารแห้ง

ประเพณี 12 เดือน

ประเพณี 12 เดือนของบ้านมาบหม้อส่วนใหญ่คล้ายกับในพื้นที่อื่น ๆ ในภาคตะวันออก เช่น
มกราคม งานทำบุญกลางบ้าน งานทำบุญในวันขึ้นปีใหม่
เมษายน วันสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำสังคายนาอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ
ตุลาคม การตักบาตรเทโว โดยเอกลักษณ์ คือ การทำข้าวต้มหางที่ใช้ในพิธีตักบาตรเทโว หรือการทำบุญหลังวันออกพรรษาโดยชาวบ้านร่วมกันทำข้าวต้มหางที่มีลักษณะเป็นข้าวต้มมัดเล็ก ๆ และมีการทำหางให้ยาวขึ้นเพื่อความสะดวกในการใส่บาตรที่วัดแทนข้าวสารอาหารแห้ง

ประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิต

ชาวชุมชนบ้านมาบหม้อมีความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์และปฏิบัติสืบทอดกันมาในรูปแบบประเพณี บางประเพณียังคงถือปฏิบัติ บางประเพณีไม่เป็นที่นิยมแล้ว เช่น
การไว้จุก โกนจุก ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม
การแต่งงาน ชาวบ้านนิยมใช้ขนมกงเป็นส่วนหนึ่งของขบวนขันหมาก ซึ่งขนมกงนั้นประกอบไปด้วยเป็ด 1 คู่ ไก่ 1 คู่ ที่จำลองมาจากเป็ดและไก่จริง ๆ ในตัวเป็ดและไก่จำลองเป็นแป้งทอด ส่วนภายนอกตกแต่งด้วยกระดาษที่มีสีสันสวยงาม



ประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิต

ชาวชุมชนบ้านมาบหม้อมีความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์และปฏิบัติสืบทอดกันมาในรูปแบบประเพณี บางประเพณียังคงถือปฏิบัติ บางประเพณีไม่เป็นที่นิยมแล้ว เช่น
การไว้จุก โกนจุก ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม
การแต่งงาน ชาวบ้านนิยมใช้ขนมกงเป็นส่วนหนึ่งของขบวนขันหมาก ซึ่งขนมกงนั้นประกอบไปด้วยเป็ด 1 คู่ ไก่ 1 คู่ ที่จำลองมาจากเป็ดและไก่จริง ๆ ในตัวเป็ดและไก่จำลองเป็นแป้งทอด ส่วนภายนอกตกแต่งด้วยกระดาษที่มีสีสันสวยงาม

การละเล่น

ในอดีตชาวบ้านชุมชนบ้านมาบหม้อมีคณะกลองยาว

ชื่อ คณะยอดสามัคคี และวงปี่พาทย์ ละครชาตรี นิยมเล่นเรื่อง สังข์ทอง ยอพระกลิ่น และ ปลาบู่ทอง แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้วเนื่องจากขาดผู้สืบทอด

การละเล่น

ในอดีตชาวบ้านชุมชนบ้านมาบหม้อมีคณะกลองยาวชื่อ คณะยอดสามัคคี และวงปี่พาทย์ ละครชาตรี นิยมเล่นเรื่อง สังข์ทอง ยอพระกลิ่น และ ปลาบู่ทอง แต่ปัจจุบันยกเลิกไปแล้วเนื่องจากขาดผู้สืบทอด

แหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล

บทความวิจัย "การสำรวจองค์ความรู้ทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชนบ้านมาบหม้อ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี" (2565) โดย ผศ.ดร.ศรัญญา ประสพชิงชนะ, ดร.ปาจรีย์ กิจกาญจนกุล (สุขาภิรมย์) และดร.อมรฉัฐ เสริมชีพ

© 2566 เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊

© 2566 เรือนพิพิธภัณฑ์ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊

เรือนพิพิธภัณฑ์
ผ้าทอมือยายหง่วน ยายไอ๊